ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า นครนายก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
|
ที่ตั้ง |
จ.นครนายก |
พื้นที่ |
ภาคกลาง
|
ประวัติความเป็นมา |
สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่านครนายก จัดตั้งในปีงบประมาณ 2540 โดยมีวัตถุประสงค์ ในการจัดตั้ง ดังต่อไปนี้
1.เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและส่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อมนุษย์
2.เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ
3.เพื่อสร้างทัศนคติที่ถูกต้องแก่ประชาชนในเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ ทรัพยากรป่าไม้ แหล่งแร่ และสัตว์ป่า ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสืบถึงการนำไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าที่สุด
4.เพื่อเป็นหน่วยประสานงานประชาสัมพันธ์งานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า |
การติดต่อ |
ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร 025610777 ต่อ 708,756 หรือ สำนักงาน เลขที่ 100 / 1 หมู่ที่ 9 ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายกสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่านครนายก 100 / 1 หมู่ที่ 9 ตำบลเขาพระ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก 26000 โทร 083 ? 7777 ? 606 , 089 ? 9307 - 227 ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ( ปราจีนบุรี ) อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โทร 0 ? 3721 ? 1140 ต่อ 120 Fax 0 ? 3721 2340 |
พื้นที่ |
4773 ไร่ |
สภาพภูมิประเทศ |
ลักษณะเป็นภูเขา หินภูเขาไฟชุดเขาใหญ่ แนวพาดเฉียงทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 50 ? 300 เมตร ทางทิศเหนือเป็นป่าธรรมชาติ บนยอดเขามีต้นไม้ค่อนข้างหนาแน่นภูเขาขึ้นสลับซับซ้อนกัน ภูมิอากาศ : อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ย 38 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 21 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนตกประมาณ 140 วัน ในรอบปี โดยมีปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปีประมาณ 2,014.4 มิลลิเมตร |
สภาพภูมิอากาศ |
ฤดูร้อน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 38 องศาเซลเซียส ฤดูฝน มีปริมาณฝนตกประมาณ 104 วัน ในรอบปี ปริมาณน้ำฝน ตลอดปีประมาณ 2,014.4 มิลลิเมตร ฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 21 องศาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 10.2 องศาเซลเซียส เมื่อ 13 มกราคม 2498 |
การเดินทาง |
สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทาง รังสิต ? นครนายก ถึงตัวเมืองนครนายกมุ่งสู่เส้นน้ำตกสาริกา นางรอง เลี่ยงซ้ายมุ่งเส้นทางวังรีรีสอร์ท ผ่านที่ทำการอบต.เขาพระ วัดเขาทุเรียน เลี้ยวซ้ายถนนหุบลึก ? ตะเคียนงาม ระยะทาง 3 กิโลเมตรผ่านสถานีควบคุมไฟป่าจังหวัดนครนายกเข้าสู่สถานีพัฒนาฯ |
พืชพื้นถิ่น |
พื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 50 เมตร? 303 เมตร ลักษณะเป็นป่าดิบแล้งผสมป่าเบญจพรรณ ที่มีป่าไผ่ผสมกับต้นไม้ยืนต้นเป็นส่วนใหญ่ และบนยอดเขาเป็นป่าเต็งรังส่วนน้อยพันธุ์ไม้ที่สามารถพบเห็น เช่น มะกอกป่า คอแลน กระบก เต็ง รัง ยางนา งิ้วป่า ติ้วเกลี้ยง ประดู่ป่า มะค่าโมง สัก พะยูง ส้มกบ เต้าหลวง มะเดื่อหิน มะเดื่อปล้อง และไม้พื้นล่าง ได้แก่ ข่อยหนาม เข็มป่า คนทา ไผ่ป่า ชะเอม กล้วยป่า กวาวเครือและเถาวัลย์ต่างๆ |
สัตว์พื้นถิ่น |
จากการสำรวจและคำบอกเล่าของชาวบ้าน สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้ เช่น หนู ค้างคาว กระรอก กระแต อีเห็น งูชนิดต่าง ไก่ป่า นกปรอดหัวโขน นกแซงแซวห่างบ่วงใหญ่ ปาด อึ่ง กบ จิ้งจก ตุ๊กแก เขียดงู แมลง จุลินทรีย์รวมทั้งเชื้อราและเห็ดราชนิดต่างๆ |
สถานที่แนะนำ |
|
|