ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า ทะเลน้อย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
|
ที่ตั้ง |
บริเวณปากทางญวนในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย หมู่ที่ 2 ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จ.พัทลุง |
พื้นที่ |
|
ประวัติความเป็นมา |
พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยซึ่งครอบคลุมพื้นที่จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราชและสงขลา เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงอันมีคุณค่ายิ่งต่อระบบนิเวศ การดำรงชีพของประชาชน แหล่งความรู้ ทางธรรมชาติวิทยา วัฒนธรรม และมีความสวยงามของทิวทัศน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางภาคใต้ สมควรแก่การอนุรักษ์ให้เกิดประโยชน์แก่มวลชีวิตที่เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืนตลอดไปจึงจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการอนุรักษ์ให้เหมาะสม ปัจจุบันมีหน่วยงานของกรมป่าไม้เข้าไปดำเนินการป้องกันการล่าสัตว์ป่าในพื้นที่แล้วแต่การเนินการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการอนุรักษ์นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ บทบาทของหน่วยงานราชการ ควรทำหน้าที่ในการเสริมสร้างความรู้ ความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และชี้แนะวิธีการที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ไว้ โครงการศูนย์ศึกษาธรรมชาติทะเลน้อยจึงได้ดำเนินการเพื่อจัดตั้งโดยกรมป่าไม้และการสนับสฟุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เริ่มดำเนินการศึกษาออกแบบการก่อสร้างในปี 2544 และก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2545 เพื่อเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ฝึกอบรมอนุรักษ์ทรัยากรธรรมชาติและพื้นที่ชุ่มน้ำและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป |
การติดต่อ |
ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร 025610777 ต่อ 708,756 |
พื้นที่ |
|
สภาพภูมิประเทศ |
|
สภาพภูมิอากาศ |
|
การเดินทาง |
การเดินทางไปทะเลน้อย หากจะเริ่มจากกรุงเทพฯ ก็สามารถไปได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และเครื่องบิน โดยจุดหมายปลายทางอยู่ที่ตัวจังหวัดพัทลุง เครื่องบิน ต้องบินไปลงหาดใหญ่ หรือตรัง แล้วนั่งรถยนต์มาที่พัทลุง และทะเลน้อยตามลำดับ รถไฟ มีรถไฟผ่านสถานีพัทลุงทุกวัน รถยนต์ มีรถประจำทางแบบธรรมดาและปรับอากาศ ออกเดินทางจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ( กรุงเทพฯ ) ทุกวัน จากพัทลุงจะต้องนั่งรถสองแถวไปยังทะเลน้อย ( มีคิวรถสองแถว พัทลุง - ทะเลน้อย อยู่ใกล้สถานีรถไฟ ) โดยใช้เส้นทางหลวงสาย 4048 ผ่านอำเภอควนขนุน ตลาดปากคลอง สุดปลายทางที่ทะเลน้อย เป็นระยะทางประมาณ 32 กิโลเมตร |
พืชพื้นถิ่น |
ในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย พืชพรรณมีความแตกต่างกันตามสภาพลักษณะภูมิประเทศ โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท 1. บริเวณป่าพรุ เป็นบริเวณที่มีน้ำท่วมอยู่ตลอดปี มีพันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ ต้นเสม็ด ซึ่งเป็นแหล่งทำรังของนกน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ นกกาบบัว และนกกระสาแดง ส่วนบริเวณป่าพรุควนขี้เสียน และป่าพรุควนเคร็ง ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่มีน้ำท่วมถึงและเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างแท้จริง พบพืชพรรณส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก ได้แก่ กก กระจูดหนู กระจูดแห้ว ทรงกระเทียม เสม็ดขาว เสม็ดชุน กูดยาง ผักกูด ลำเท็ง ลิเภายุ่ง 2. บริเวณพื้นน้ำ หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย มีพืชน้ำนานาชนิด ได้แก่ กง สาหร่ายต่าง ๆ กระจูด ผักตบชวา บัวชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะบัวสายจะขึ้นเต็มพื้นน้ำได้ชื่อว่าเป็นทะเลบัวที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย 3. บริเวณป่าดิบชื้นอยู่บริเวณเชิงเขาและรอยต่อเทือกเขาบรรทัด พรรณไม้ที่พบ ได้แก่ สมอขาว ตะเคียนทอง ประดู่ ทองหลางน้ำ เม่าไข่ปลา ยางนา ต้นเนียม กาแซะเชียด กะพ้อแดง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบพืชพื้นล่าง พวกกะทือ เฟินตะไบ ตีนนกยูง เป็นต้น 4. บริเวณพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งที่อยู่ของชุมชนมีการเพาะปลูกนาข้าว ไม้ผล ยางพารา และวัชพืชต่าง ๆ ซึ่งขึ้นกระจายทั่วไป 6. บริเวณทุ่งหญ้าประกอบด้วยต้นกก ลำพู และหญ้าชนิดต่าง ๆ |
สัตว์พื้นถิ่น |
มีรายงานด้านสัตว์ป่าว่าทะเลน้อยมีสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 250 ชนิด แบ่งเป็น 1. สัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์รองลงมาจากนกแต่จำนวนในแต่ละชนิดค่อนข้างน้อย ทั้งนี้อาจเนื่องจากเป็นสัตว์หลบซ่อนเก่ง และพบเห็นได้ยาก ที่มีมากที่สุด ได้แก่ งู พบถึง 18 ชนิด ที่น่าสนใจ คือ งูกระด้าง ซึ่งคาดว่าทางภาคใต้จะพบเห็นได้มากที่เขตห้ามล่าสัาตว์ป่าทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา 2. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีประมาณ 13 ชนิด เช่น ลิงแสม ลิงลม และที่สำคัญได้แก่ เสือปลา ซึ่งจะกินหนูท้องขาวเป็นอาหารหลัก ปัจจุบันคาดว่าจำนวนเหลืออยู่น้อยมาก เป็นสัตว์ที่ต้องการการอนุรักษ์อย่างเร่งด่วน 3. ปลาและสัตว์อื่น ๆ ในช่วงฤดูฝนจะพบความหลากหลายของชนิดพันธุ์มากกว่าในช่วงอื่น ๆ ชนิดพันธุ์ที่พบ เช่น เต่า ตะพาบน้ำ กุ้ง ปู หอย ปลาช่อน ปลากระดี่ ปลาซิว ปลาปักเป้าน้ำจืด ปลาดุกรำพัน และปลาเสือพ้นน้ำ เป็นต้น
|
สถานที่แนะนำ |
|
|