ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่า เขาสอยดาว กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
|
ที่ตั้ง |
ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว ตำบลทรายขาว กิ่งอำเภอเขาสอยดาว จ.จันทบุรี |
พื้นที่ |
|
ประวัติความเป็นมา |
เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 200 ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2515 กำหนดให้ป่าเขาสอยดาว เขาตะระแวง เขาป่าตะรอบ เขางู และเขาทรายขาว ในท้องที่ตำบลทรายขาว ตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลตะเคียนทอง ตำบลฉมัน อำเภอมะขาม ตำบลแก่งหางแมว อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เพื่อรักษาไว้ซึ่งสัตว์ป่า ป่าไม้ ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ให้คงอยู่ตลอดไป มีเนื้อที่ประมาณ 465,637 ไร่ (762 ตารางกิโลเมตร) ต่อในในปี 2522 กรมป่าไม้ โดยกองอนุรักษ์สัตว์ป่า ได้ทำการสำรวจพื้นที่ พบว่ามีความเหมาะสมที่จะเป็นสถานที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติด้านป่าไม้และสัตว์ป่าแก่ประชาชนทั่วไป จึงได้จัดตั้งศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทรายขาว มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ ปัจจุบันศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทรายขาว ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทรายขาว ตามการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานกรมป่าไม้ใหม่เมื่อ 2535
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา:26/8/2515[200/0] |
การติดต่อ |
ส่วนส่งเสริมและเผยแพร่ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร 025610777 ต่อ 708,756 |
พื้นที่ |
465637 ไร่ |
สภาพภูมิประเทศ |
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบ บางตอนเป็นเนินเขาแต่ไม่สูงชัน มีแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของสัตว์ป่าที่อุดมสมบูรณ์กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ได้แก่ ทุ่งหญ้า ดินโป่ง และลำห้วยตะระแวง ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี |
สภาพภูมิอากาศ |
เนื่องจากตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศและตั้งอยู่ใกล้ทะเล จึงมีสภาพดินฟ้าอากาศแตกต่างจากส่วนอื่นของประเทศ แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล คือ ฤดูฝน ตั้งแต่มิถุนายน-ตุลาคม ฤดูหนาว ตั้งแต่พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ ฤดูร้อน ตั้งแต่มีนาคม-พฤษภาคม |
การเดินทาง |
การเดินทางไปยังสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทรายขาว สามารถไปได้โดยรถยต์จากอำเภอเมืองจันทบุรี ไปตามเส้นทางจันทบุรี-สระแก้ว ประมาณ 65 กิโลเมตร ถึงบ้านประตงจะมีทางแยกเข้าสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทรายขาว และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว โดยจากทางแยกถึงสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทรายขาวประมาณ 3.5 กิโลเมตร |
พืชพื้นถิ่น |
สภาพป่าในพื้นที่สถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทรายขาว ส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบแล้ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญหลายชนิด เช่น มะค่าโมง ตะเคียนทอง กระบาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ไม้ที่มีประโยชน์ในด้านที่เป็นอาการของสัตว์ป่าอีกมากมายหลายชนิด |
สัตว์พื้นถิ่น |
สัตว์ที่ทางสถานีพัฒนาและส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าทรายขาวย เลี้ยงไว้เพื่อให้ประชาชนชม ได้แก่ กวาง เก้ง ลิงแสม ไก่ฟ้าพญาลอ ชะนีแก้มขาว หมีควาย กระทิง |
สถานที่แนะนำ |
|
|